Discover7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)รับมือกับความเครียด [6732-7q]
รับมือกับความเครียด [6732-7q]

รับมือกับความเครียด [6732-7q]

Update: 2024-08-10
Share

Description

Q : วิธีจัดการกับความเครียดกดดัน ?

A : ในการทำงาน หากเราตั้งไว้ด้วยความอยากว่า อยากมีชื่อเสียง อยากประสบความสำเร็จ ความอยากนั้นจะเป็นตัณหา เราควรตั้งไว้ด้วยความเพียรคือวิริยะ ที่เป็นความเพียรที่ไม่ประกอบด้วยความอยาก คือเริ่มจากมีสติจดจ่ออยู่ในงานปัจจุบัน ใช้หลักธรรม คือ “อิทธิบาท 4” มีสมาธิเป็นตัวประสาน มีเมตตาต่อกัน สามัคคีกัน สร้างสิ่งแวดล้อมที่จะสนับสนุนการทำงาน โครงการก็จะสำเร็จได้


Q : คนที่เป็นซึมเศร้าแล้วมีธรรมะใดที่จะทำให้จิตใจดีขึ้นบ้าง?

A : โรคซึมเศร้า เป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง ที่มีกำลังมากเรียกว่า “ถีนมิทธนิวรณ์” ลักษณะคือจิตคิดวนไปในเรื่องที่ไม่พอใจ เศร้าใจ คิดวนไป ๆ จนกระทั่งอารมณ์ทางจิตมีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ให้เราตั้งสติให้คิดไปในเรื่องอื่น คือให้เอาสิ่งอื่นมาทดแทน เช่น ออกไปข้างนอก ไปทำกิจกรรมที่ไม่เป็นไปในทางกาม เช่น ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อ่านหนังสือ หรือไปเป็นอาสาสมัคร เพื่อให้คิดเรื่องที่หลีกจากกาม พอจิตเราเป็นสมาธิก็จะกำจัดนิวรณ์นี้ออกไปได้ 

 

Q : การใส่บาตรให้พระสงฆ์ที่เลือกรับของในบาตรจะได้บุญหรือไม่?

A : ได้บุญ เพราะเราตั้งจิตไว้แล้ว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น เราควรตั้งจิตไว้ว่า “เราถวายพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ตั้งจิตว่าจะถวายพระอริยะเจ้าทั้งหลาย โดยมีพระภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นตัวแทนในการรับ” พอเราตั้งจิตไว้ถูก บุญที่ได้จะมาก 

 

Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราภาวนาเป็นหรือไม่เป็น?

A : การภาวนาคือการพัฒนา เป็นการทำให้เจริญ เมื่อเราภาวนาต้องได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ท่านได้พูดถึงกำลังของพระเสขะ ที่ประกอบไปด้วยศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ และปัญญา การที่เรานั่งสมาธิแม้จะยังไม่ได้สมาธิ เราก็ได้ความเพียร ความเพียรก็มาจากศรัทธา เรามีศรัทธา มีความเพียร เกิดการลงมือทำจริง ความเพียรเราก็เพิ่ม ศรัทธาเราก็เพิ่ม ให้เราฝึกฝนทักษะ จะพัฒนาก้าวหน้าได้

 

Q : มีวิธีการจัดการกับความอิจฉาริษยาอย่างไร?

A : ใช้คุณธรรมคือมุทิตา แปลว่า ความยินดีที่เขามีความสุข ยินดีที่เขาได้ความสำเร็จ 



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Comments 
loading
In Channel
loading
00:00
00:00
1.0x

0.5x

0.8x

1.0x

1.25x

1.5x

2.0x

3.0x

Sleep Timer

Off

End of Episode

5 Minutes

10 Minutes

15 Minutes

30 Minutes

45 Minutes

60 Minutes

120 Minutes

รับมือกับความเครียด [6732-7q]

รับมือกับความเครียด [6732-7q]